Ads Top

SMK Insurance

วิธีป้องกัน "ไข้เลือดออก" ในเด็ก กลุ่มเสี่ยงสูง

 



ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ยุงลายแพร่พันธุ์ได้มาก ทำให้ "โรคไข้เลือดออก" มีการแพร่ระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดปี 2563 พบว่า "อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดในอยู่เด็กอายุ 5-14 ปี รองลงมา ได้แก่ อายุ 15-24 ปี และอายุ 0 - 4 ปี  แต่ในกลุ่มที่มีอัตราป่วยตายสูงที่สุด คือ ช่วงอายุ 45 – 54 ปี
" พบมากสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ไข้เลือดออกในเด็ก เกิดจากยุงลายที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้นเอง เราจึงต้องป้องกันและหมั่นสังเกตอาการป่วยของเด็ก เพราะไข้เลือดออกในเด็กมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้   จึงมีวิธีสังเกตและป้องกันไข้เลือดออกในเด็กมาฝากกันดังนี้




สาเหตุของไข้เลือดออกในเด็กโรคไข้เลือดออก 

มาจากยุงลายเพศเมียที่ดูดเลือดเป็นอาหาร โดยจะแพร่เชื้อจากยุงที่ได้รับไวรัสเดงกีมาเท่านั้น หากมีเพื่อนบ้านหรือคนรอบตัวเป็นไข้เลือดออก ยุงที่ไปดูดเลือดจากผู้ป่วยเหล่านั้นก็จะเป็นพาหะที่นำโรคไข้เลือดออกมาสู่ตัวเราได้ ไข้เลือดออกไม่สามารถส่งต่อเชื้อจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อจะมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน และเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนจะมีระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน -นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้




วิธีสังเกตอาการไข้เลือดออกในเด็ก และต่างจากไข้ธรรมดาอย่างไร?

1. ไข้สูงลอย 2 – 7 วัน ไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส เมื่อหมดฤทธิ์ยาลดไข้ ไข้จะขึ้นใหม่

2. คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รับประทานอาหารและน้ำได้น้อยลง

3. ปวดท้องรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา โดยบางรายอาจมีอาการท้องอืด เบื่ออาหารร่วมด้วย หากมีอาการปวดท้องมากให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

4. หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง บางรายอาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือเลือดออกตามไรฟัน

5. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ เช่น มีอาการซึม ไม่ค่อยเล่น ไม่ร่าเริง พูดจาไม่รู้เรื่อง เอะอะโวยวาย ไม่ตอบสนองดีเท่าที่ควร หรือหากเป็นเด็กเล็กจะร้องกวนมากผิดปกติ

6. ความผิดปกติภายนอก เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ชัด เช่น ปากแห้ง ตัวซีด ตัวเย็น เหงื่อออกมาก สีผิวคล้ำลงหรือตัวลาย เป็นต้น

7. ปัสสาวะน้อย หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4 – 6 ชั่วโมง แสดงว่าร่างกายเริ่มมีภาวะขาดน้ำ

หากเบื้องต้นพบอาการเหล่านี้ ควรให้กินเพียงยาพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบเด็ดขาด เพราะยาเหล่านี้จะยิ่งทำให้มีอาการหนักมากกว่าเดิม




ระยะของโรคไข้เลือดออกในเด็ก

โรคไข้เลือดออกในเด็กแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้  ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว โดยมีอาการที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. ระยะไข้
จะมีอาการไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกินกว่า 4-5 วัน ปวดหัว ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร ท้องอืด และส่วนใหญ่จะรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว หรือปวดกระดูกตามมาด้วย อย่างไรก็ตามเด็กบางคนอาจมีอาการชักและใบหน้าแดงตั้งแต่ระยะไข้นี้ได้เหมือนกัน

2. ระยะวิกฤต
เมื่อมีไข้มาเกิน 5-6 วัน แล้วช่วง 3 วันหลังจากนี้จะมีไข้ลดลง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าเย็นขึ้น ปัสสาวะน้อย มีอาการท้องอืดและกระสับกระส่ายร่วมด้วย อย่าเพิ่งวางใจคิดว่าใกล้หายแล้ว เพราะลักษณะแบบนี้นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบเฉียบพลัน อาจจะทำให้เกิดอาการช็อกได้

3. ระยะฟื้นตัว
พอผ่านช่วง 3 วันอันตรายโดยไม่มีอาการช็อก คนไข้จะฟื้นตัวได้เร็วมาก เริ่มปัสสาวะบ่อยขึ้น อาการปวดหัวลดลง และมีความอยากอาหาร ส่วนเด็กที่ป่วยด้วยไข้เลือดออกแล้วเกิดอาการช็อก หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะกลับมาเป็นปกติภายใน 2-3 วัน


การรักษาโรคไข้เลือดออก

1. งดกินยาประเภทแอสไพรินและยาต้านการอักเสบ
ถ้ายังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคที่เด็กเป็นคือไข้เลือดออกหรือไข้ธรรมดา ควรรักษาด้วยการให้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดความเจ็บปวดไปก่อนจะดีกว่า แต่ห้ามให้กินยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบเด็ดขาด เพราะยา 2 ชนิดนี้อาจส่งผลให้เด็กที่เป็นไข้เลือดออกอาการหนักมากขึ้น

2. ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเกลือแร่
อาการป่วยนี้จะทำให้เด็กรู้สึกเบื่ออาหาร กินอะไรไม่ค่อยลง ควรให้น้ำที่มีพลังงานอย่างน้ำผลไม้หรือผงน้ำตาลเกลือแร่แทน โดยให้เด็กจิบเรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายไม่อ่อนแรงและมีน้ำไปหล่อเลี้ยงร่างกาย

3. ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
คอยสังเกตอาการของเด็กให้ดี ว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงอะไรอย่างเฉียบพลันไหม เพราะอาจเกิดอาการช็อกจนรักษาได้ยาก หรือถ้ามีไข้หนักและไม่ยอมกินอะไรเลย ก็ควรพาไปโรงพยาบาลเพื่อวินิจฉัยอาการและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด





วิธีป้องกันไข้เลือดออกในเด็ก มีวิธีดังต่อไปนี้




1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ควรสำรวจแหล่งน้ำขังทั้งรอบตัวบ้าน และในบริเวณบ้านให้ดีก่อนที่ลูกน้ำเหล่านั้นจะเจริญเติบโตเป็นยุงลาย ทำได้ง่าย ๆ แค่เปลี่ยนน้ำในแจทุกๆ 7 วัน ปิดฝาโอ่งน้ำให้สนิท, ปล่อยปลาลงอ่างบัว หรือใส่น้ำเดือดลงไปในถ้วยรองตู้กับข้าวทุก 7 วัน เป็นต้น

2. ให้เด็กสวมใส่เสื้อแขนยาวขายาว

เมื่อต้องปล่อยให้เด็กออกไปเล่นนอกบ้านไม่ว่าตอนกลางวันหรือกลางคืน เหล่ายุงตัวร้ายก็พร้อมเข้ามาดูดเลือดได้เสมอ ทางที่ดีควรใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวให้เด็กตลอดเวลาจะดีกว่า

3. ทายากันยุงให้เด็ก

ทายากันยุงที่หมาะสำหรับเด็ก คุณแม่ควรหายาทากันยุงมาติดบ้านไว้ หลังอาบน้ำเสร็จก็ทาให้เด็กทันที

4. กางมุ้งนอน

ถึงแม้จะมีมุ้งลวดอยู่รอบบ้าน  แต่บางครั้งยุงก็อาจเล็ดลอดเข้ามาได้ เวลานอนควรกางมุ้งด้วยจะดีกว่า พอกางมุ้งเสร็จก็ควรสำรวจว่ามียุงอยู่ไหม ถ้ามีก็ต้องหาทางกำจัดยุงออกไปก่อน เพื่อเด็กได้นอนสบายตลอดทั้งคืน

5. ฉีดยากำจัดยุง

ควรฉีดยากำจัดยุงทั่วบ้านอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง พื้นที่รอบบ้านหากหาทางกำจัดไม่ได้ ควรแจ้งกับทางการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ามากำจัดยุงจะดีที่สุด    

     
สรุปวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก คือ การหมั่นสังเกตอาการ ไม่ประมาท และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป แต่หากยังไม่วางใจเพราะยุงลายมีอยู่รอบตัว 

แม้จะป้องกันดีแค่ไหน ก็สามารถเลือกเพิ่มความคุ้มครอง ด้วยประกันภัยไข้เลือดออก ประกันสุขภาพจากสินมั่นคงประกันภัย พร้อมดูแลด้วยค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยสูงสุดถึง 195,000 บาท ช่วยให้คุณอุ่นใจเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากโรค “ไข้เลือดออก” คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมค่าชดเชยรายวันระหว่างรักษาตัว  
เบี้ยเริ่มต้น 203 บาทต่อปี 
สนใจรายละเอียด 
คลิก www.smk.co.th/prehealth.aspx หรือ โทร.1596 
สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..


ที่มา : sanook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.