Ads Top

SMK Insurance

ไข้เลือดออกแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร เป็นกี่วันหาย

โรคไข้เลือดออกมักเป็นเรื่องที่หลายคนต้องกังวลใจ เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนผ่านฤดูกาลเข้าสู่หน้าฝน และส่งผลให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเกิดขึ้นได้มากมายในสถานที่หรือภาชนะที่มีน้ำขัง (ภัยเงียบจากยุงลาย..ร้ายกว่าที่คิด! https://www.smk.co.th/newsdetail/1621) และยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ตระหนักถึงภัยอันตรายจากไข้เลือดออก โดยเฉพาะอาการเริ่มแรกที่อาจคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดใหญ่ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า โรคไข้เลือดออก กับไข้หวัดใหญ่ หรือกับโรคอื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร สินมั่นคงประภัยมีข้อมูลมาบอกต่อค่ะ

อาการของโรคไข้เลือดออก

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเป็นเวลา 5-8 วันจะปรากฏอาการของโรคอย่างชัดเจนออกมา จากนั้นจะมีอาการที่รุนแรงแตกต่างกันออกไป ในเบื้องต้นจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้และมีอาการรุนแรงมากขึ้นจนอาจถึงขั้นช็อกและเสียชีวิตได้ สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้นยังมีอาการแสดงออกมาชัดเจน โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

  1. ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยประมาณ 2-7 วัน และยังมีไข้สูงที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน โดยส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งในบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน
  2. ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออก ซึ่งพบบ่อยที่สุดในบริเวณผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่าผู้ป่วยมีเส้นเลือดเปราะและแตกง่ายร่วมกับมีจุดเลือดออกเป็นจุดเล็กๆ กระจายอยู่เต็มตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ ทั้งนี้อาจมีเลือดดำหรือเลือดออกตามไรฟัน สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในรายที่มีอาการขั้นรุนแรงอาจมีอาการอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งก็มักจะเป็นเลือดสีดำ สำหรับอาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่นั้นจะพบร่วมกับภาวะช็อกในรายที่มีการช็อก
  3. ผู้ป่วยจะมีอาการตับโต และเมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ โดยส่วนใหญ่จะพบว่าตับโตในช่วงวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มป่วย
  4. ผู้ป่วยจะมีภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ซึ่งประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง หรือที่เราเรียกว่าภาวะช็อก โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการที่ผู้ป่วยมีไข้ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
  5. สำหรับช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเกิดอาการช็อกนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ด้วยเช่นกัน อาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 หรือวันที่ 8 ของวันที่ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการที่แย่ลง โดยเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเริ่มเย็น ชีพจรเบา และความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ข้อแตกต่างระหว่างไข้เลือดออกกับไข้หวัดธรรมดา

  • มีไข้สูงตั้งแต่ 39 - 90 องศาเซลเซียส
  • ส่วนมากไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ
  • อาจมีการปวดเมือยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปาดดวงตา
  • อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
  • มีเลือดออก (กรณีอาการถึงขั้นรุนแรง) เลือดกำเดาไหล เลือดตามไรฟัน อาจถ่ายหรืออาเจียนเป็นเลือด

การแยกลักษณะของ “ตุ่ม” กับไข้เลือดออก

การสังเกตลักษณะของตุ่มที่เกิดขึ้นว่ามาจากแมลงกัดต่อย ผลพวงจากโรคอื่น หรือเป็นตุ่มที่มาจากไข้เลือดออก ซึ่งจะมีทั้งแบบที่มีไข้ร่วมด้วยและแบบที่ไม่มีอาการไข้ บางครั้งผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจำเป็นต้องสังเกตอาการดังนี้

1. กรณีที่เป็นตุ่มเกิดจากแมลงกัดต่อย

ตุ่มจากแมลงกัดต่อย ส่วนมากแล้วพบว่าเป็นตุ่มนูน หรือเห่อขึ้นมาเป็นจุด ๆ ตามผิวหนังของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นพื้นที่เดียว แผ่กระจายในจุดเดียวกัน แต่ในตำแหน่งอื่นกลับไม่พบตุ่มนูน บางครั้งมีลักษณะเห่อเหมือนกับลมพิษ อาจมีอาการคันร่วมด้วย ส่วนมากการกัดของแมลงแล้วเกิดเป็นตุ่มจะไม่มีไข้ นอกจากเป็นแมลงมีพิษ แล้วมีอาการแพ้

2. กรณีที่เป็นตุ่มเกิดจากโรคมือเท้าปาก

ตุ่มจากโรคมือเท้าปาก พบได้เช่นเดียวกันกับในโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะมีไข้ร่วมด้วย พร้อมกับอาการเจ็บปาก กินอาหารได้น้อย มีแผลที่กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ตุ่มหรือผื่นแดงจะเกิดขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ ผิวหนังของก้น และอาจพบตามลำตัว แขนและขาได้ อาการจะคงอยู่ประมาณ 2-3 วันก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และหายได้ภายใน 1 อาทิตย์

3. กรณีที่เป็นตุ่มเกิดจากไข้เลือดออก

ตุ่มที่เกิดขึ้นจากไข้เลือดออก ควรสังเกตตั้งแต่อาการไข้ที่จะพบร่วมด้วย หากไข้สูงนำมาแล้ว 2-7 วัน ภายหลังที่ไข้เริ่มลดลง ในระยะดังกล่าวจะปรากฏผื่นแดงขึ้นมา ผื่นเหล่านี้เมื่อขึ้นมาแล้วจัดอยู่ในระยะที่ต้องระมัดระวัง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคได้ ลักษณะของตุ่มจะเป็นตุ่มแดง มีขนาดเล็ก กระจายไปทั่วทั้งตัว ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา ลำตัว หรือตามใบหน้า

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ในขณะนี้ยังไม่มียาชนิดใด ที่สามารถต่อต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออกได้ แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการในแบบประคับประคองไปก่อนเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็จะเกิดผลดีได้ หากแพทย์สามารถทำการวินิจฉัยพบโรคได้ตั้งแต่เกิดขึ้นในระยะแรกๆ อีกทั้งแพทย์จะต้องมีความเข้าใจถึงธรรมชาติของโรคและให้การรักษารวมทั้งการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยยังคงอยู่ในช่วงวิกฤตประมาณ 24-48 ชั่วโมงที่มีการรั่วไหลของพลาสมา และห้ามใช้ยาแอสไพริน กับผู้ป่วยไข้เลือดออกโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะป่วยด้วยอาการมากน้อยเพียงใดก็ใช้ยาชนิดนี้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกไม่ได้ รวมถึงยากลุ่ม NSAIDS เพราะในยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติจับตัวกันเป็นก้อนเลือด ซึ่งยานี้อาจไปกระตุ้นอาการเลือดออกให้มากกว่าเดิมได้

ป้องกันดีแค่ไหน แต่ภัยร้ายจากยุงลาย ก็ทำร้ายเราได้มากกว่าที่คิด ประกันภัยไข้เลือดออก ประกันสุขภาพจากสินมั่นคงประกันภัย เบี้ยเริ่มต้น 203 บาทต่อปี ค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยสูงสุดถึง 195,000 บาท ช่วยให้คุณอุ่นใจเรื่องค่ารักษาพยาบาลจากโรค “ไข้เลือดออก” คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมค่าชดเชยรายวันระหว่างรักษาตัว ร่วมปกป้องคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/14 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.