Ads Top

SMK Insurance

ขับรถผ่านวงเวียนทำอย่างไร? หลากหลายกฎหมายจราจรต้องรู้

ความรู้ด้านกฎจราจรเป็นสิ่งสำคัญที่คนขับรถยนต์ทุกคันต้องจำใส่ใจและให้ความสำคัญกับการระมัดระวังเมื่อต้องออกเดินทางอยู่บนท้องถนน ซึ่งหากหลงลืมหรือฝ่าฝืนกฎจราจรนอกจากอาจจะต้องถูกตัดแต้มใบขับขี่หรือจับปรับดำเนินคดีทางกฎหมายแล้ว อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนได้อีกด้วย (ข้อห้ามในการขับรถมีอะไรบ้าง? ข้อควรปฏิบัติที่ผู้ขับขี่ต้องระวัง! https://www.smk.co.th/newsdetail/3041) แล้วกฎจราจรที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรรู้ มีอะไรบ้าง สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลมาฝากค่ะ

ขับรถผ่านวงเวียนต้องปฏิบัติอย่างไร

ในกรณีมีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร โดยที่ถ้าไม่มีสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ ซึ่งขับอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนชับผ่านไปก่อน หรือในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรจะให้สัญญาณเป็นอย่างอื่น ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่กำหนด

บริเวณใดห้ามกลับรถ

  1. ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมาหรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร
  2. ในเขตปลอดภัยหรือคับขัน
  3. บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
  4. บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้
  5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ

บริเวณใดห้ามขับแซง

  1. ห้ามแซงด้านซ้าย เว้นแต่รถที่ถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา หรือทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่อทางเดินรถในทิศทางเดี่ยวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป
  2. ห้ามแซงเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ใกล้ทางโค้งเว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
  3. ห้ามแซงภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วม ทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้าทางรถไฟ
  4. ห้ามแซงเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่น หรือควัน จะทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างได้ในระยะ 60 เมตร
  5. ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
  6. ห้ามแซงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง
  7. ห้ามแซงในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ

บริเวณใดห้ามจอดรถ

  1. บนทางเท้า
  2. บนสะดานหรือในอุโมงค์
  3. ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
  4. ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
  5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ
  6. ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
  7. ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
  8. ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
  9. จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)
  10. บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
  11. ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจาปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้ง 2 ข้าง
  12. ในที่คับขัน
  13. ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจำทาง และเลยไปอีก 3 เมตร
  14. ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
  15. ในลักษณะกีดขวางการจราจร
  16. จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถุสวนทางกัน

การบรรทุกของต้องปฏิบัติอย่างไร

  1. ความกว้าง ได้ไม่เกินส่วนกว้างของรถ
  2. ความยาว
    • ด้านหน้ายื่นไม่เกินหน้าหม้อรถ
    • ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถไม่เกิน 2.50 เมตร
  3. ความสูง  กรณีรถบรรทุกให้บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.00 เมตร แต่ถ้ารถมีความกว้างของรถเกินกว่า 2.30 เมตร ให้ บรรทุกสูงจากพื้นทางได้ไม่เกิน 3.80 เมตร
  4. ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันคน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่อน รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อให้ เกิดเหตุเดือนร้อน รำคาญทำให้สกปรกเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนหรือทรัพย์สิน

บรรทุกของยื่นเกินกว่าความยาวของตัวรถต้องปฏิบัติอย่างไร

  1. ในเวลากลางวันติดธงสีแดงเรืองแสงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาง 45 เซนติเมตร
  2. ในเวลากลางคืน หรือในเวลาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร ต้องติดไฟสัญญาณสีแดงที่มองเห็นชัดเจนสนระยะ 150  เมตร

พบรถฉุกเฉินต้องปฏิบัติอย่างไร

  1. หยุดรถ หรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ถ้ามีช่องทางเดินรถประจำทางให้หยุดชิดกับช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้าม หยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
  2. ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินได้ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร

เครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้อง (รถเสีย) ต้องปฏิบัติอย่างไร

  1. นำรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด
  2. ถ้าจำเป็นต้องจอดในทางเดินรถจะต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและแสดงเครื่องหมายดังนี้
    • ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลให้ใช้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอัน สีแดง หรือสีขาวที่ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (ไฟฉุกเฉิน) หรือติดตั้งป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ      
    • นอกเขต ให้แสดงเครื่องหมายป้ายฉุกเฉินซึ่งมีลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นขาวขอบ แดง มีสัญลักษณ์ I สีดำตรงกลาง ทั้งด้านหน้าและท้ายรถ โดยห่างจากรถไม่ต่ำกว่า 50 เมตร และให้สัญญาณไฟกระพริบ (ไฟฉุกเฉิน) ในเวลาที่มองเห็นไม่ชัดเจรน แสงสว่างไม่เพียงพอและจอดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

ให้คุณปลอดภัยได้ทุกการเดินทาง ประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์  ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 6,999 บาท ประกันประเภท 1 ซ่อมอู่ และยังถูกลงได้อีก หากเลือกแบบมีดีดักและระบุชื่อผู้ขับขี่ (ลดสูงสุดเหลือเพียง 3,999 บาท) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ทั้งความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือบุคคลภายนอก รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม เช็กโปรไฟล์ของคุณได้ที่นี่ https://smkall.smk.co.th สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก www.smk.co.th/productmotordetail/20 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.