ป้ายภาษีรถยนต์หาย ทำอย่างไรดี ?
สิ่งที่ต้องดูแลสำหรับคนมีรถนอกจากการบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะแล้ว ก็คือการต่อทะเบียนหรือการชำระภาษีรถยนต์ หรือที่มักเรียกกันว่า “ป้ายภาษี” หรือ “ป้ายวงกลม” เมื่อได้ชำระภาษีรถยนต์แล้วจะได้ป้ายภาษีรถยนต์เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมสำหรับติดไว้ที่กระจกหน้ารถเพื่อแสดงว่ารถยนต์ได้ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแล้ว เพราะการชำระภาษีรถยนต์จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการทำ พ.ร.บ. แล้วจึงสามารถต่อภาษีได้ หากชำระภาษีแล้วแต่ทำแผ่นป้ายภาษีรถยนต์หรือแผ่นป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมที่ติดไว้ที่หน้ากระจกรถยนต์หล่นหาย จะต้องทำอย่างไร สินมั่นคง ประกันรถยนต์ มีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ
ป้ายภาษีรถยนต์ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่ติดไว้ที่กระจกหน้ารถ เพื่อเป็นเอกสารแสดงว่ารถยนต์ของเราได้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแล้วเป็นที่เรียบร้อย หากไม่มีป้ายภาษีหรือติดแสดงให้เห็นชัดเจนมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
ป้ายภาษีรถยนต์หายต้องทำอย่างไร
- ให้แจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นนำป้ายภาษีของเราไปแอบอ้างหรือกระทำผิดกฎหมาย และจะได้มีหลักฐานยืนยันว่าทำสูญหายไป
- เตรียมเอกสารในการขอป้ายภาษี
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ เล่มรถสีน้ำเงิน หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ต้องแจ้งให้บริษัท ฯ ไฟแนนซ์ดำเนินการขอให้
- สำเนาใบแจ้งความ หรือ สำเนาบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เราได้ไปแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันไว้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ และนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงติดตัวไปด้วย
กรณีเจ้าของรถไม่ได้สามารถมาด้วยตัวเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนการดำเนินการที่กรมขนส่งทางบก
- ติดต่อที่สำนักงานขนส่งทางบกที่รถยนต์ได้จดทะเบียนไว้ แจ้งเจ้าหน้าว่ามาติดต่อทำแผ่นป้ายภาษีเนื่องจากสูญหาย หากมีใบแจ้งความก็ยื่นให้เจ้าหน้าที่ แต่หากไม่มีทางเจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้กรอกเพิ่ม พร้อมใบคำร้องอีก 1 ใบ
- รับบัตรคิวกับเจ้าหน้าที่รอเรียกเพื่อดำเนินการ
- ชำระอัตราค่าธรรมเนียม 25 บาท (ค่าคำขอ 5 บาท ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
- รอรับแผ่นป้ายภาษีใหม่
หมายเหตุ - การยื่นคำขอรับเอกสารแทนการสูญหายต้องทำภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีการสูญหาย
หากยังไม่จ่ายภาษี ไม่มีแผ่นป้ายภาษี
1. ตรวจสภาพรถยนต์ และขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส ( ในกรณีที่รถมีการติดแก๊ส )
รถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง สำหรับรถติดแก๊สไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG ต้องขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก
2. ทำ พ.ร.บ. รถยนต์
ก่อนต่อภาษีรถยนต์ ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก่อน เพราะจะได้นำเอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง
3. ตรวจเช็กเอกสารให้ครบถ้วนก่อนยื่นต่อภาษีรถยนต์
1) เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
2) พ.ร.บ. รถยนต์ ( ใช้เอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ )
3) ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
4) เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)
4. สถานที่รับชำระภาษีรถยนต์
- สำนักงานขนส่งทางบก
- ที่ทำการไปรษณีย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th
ไม่มีความคิดเห็น: