Ads Top

SMK Insurance

เงินดิจิทัลคืออะไร? ใช้อย่างไร?

เมื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ตามมานอกจากการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี คือนโยบายต่างๆ ที่นักการเมืองได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้ง และหนึ่งในนโยบายที่กำลังถูกพูดถึงมากอยู่ขณะนี้คือ นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท (เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใช้ยังไง ได้วันไหน ใครได้บ้าง เช็กเงื่อนไขที่นี่ https://www.thairath.co.th/news/politic/2719367) ทำให้หลายคนสงสัยว่า คนดิจิทัล คือเงินรูปแบบไหน (เงินคริปโตเคอเรนซีคืออะไร? ใช้ยังไง? ทำไมใครๆ ก็พูดถึง! https://www.smk.co.th/newsdetail/2838) มีรูปแบบการใช้อย่างไร แตกต่างจากการโอนเงินสแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ อย่างไร สินมั่นคงประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาฝากค่ะ

เงินดิจิทัลคืออะไร?

ตามหลักแล้ว สกุลเงินดิจิทัลมักเป็นเงินดิจิทัลแบบกระจายอำนาจที่ออกแบบมาเพื่อใช้บนอินเตอร์เน็ต โดยมีบิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลประเภทแรกและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบัน ที่ผ่านมาบิตคอยน์และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เช่น อีเธอร์เรียม ได้เติบโตขึ้นเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนและผู้ที่สนใจอีกมากมายนอกเหนือจากเงินที่ออกโดยรัฐบาล แม้จะโดนกระแสข่าวในทางลบกับเงินดิจิทัลหลายสกุลที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังมีเงินดิจิทัลหลายสกุลก็ที่อาจใช้เทคโนโลยีต่างกัน หรือมีฟีเจอร์ใหม่ที่ทำให้ใช้งานได้มากกว่ายังคงใช้งานได้อยู่ในปัจจุบัน

เงินดิจิทัลปลอดภัยหรือไม่?

สกุลเงินดิจิทัลสามารถโอนมูลค่าทางออนไลน์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง เช่น ธนาคาร หรือตัวดำเนินการชำระเงิน ช่วยให้โอนมูลค่าไปทั่วโลกได้ในแทบจะทันทีตลอด 24 ชั่วโมง และมีค่าธรรมเนียมต่ำ โดยปกติแล้ว รัฐบาลหรือหน่วยงานกลางใดก็ตามไม่ใช่ผู้ออกหรือควบคุมสกุลเงินดิจิทัล โดยสกุลเงินดิจิทัลได้รับการคุ้มครองโดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเพียร์ทูเพียร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ทุกคนที่ต้องการเข้าร่วมสามารถทำได้ และมีความปลอดภัยเพราะธุรกรรมทั้งหมดได้รับการตรวจสอบโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่า บล็อกเชน

บล็อกเชน คืออะไร?

บล็อกเชนสกุลเงินดิจิทัลนั้นคล้ายกับงบดุลหรือบัญชีแยกประเภทของธนาคาร แต่ละสกุลเงินจะมีบล็อกเชนเป็นของตนเองซึ่งจะบันทึกธุรกรรมทุกรายการที่เกิดจากการใช้สกุลเงินนั้น โดยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีการตรวจสอบยืนยันสม่ำเสมอและไม่เหมือนบัญชีแยกประเภทของธนาคารตรงที่ว่า บล็อกเชนสกุลเงินดิจิทัลจะกระจายไปยังผู้เข้าร่วมของทั้งเครือข่ายของสกุลเงินดิจิทัล และไม่มีบริษัท ประเทศ หรือบุคคลที่สามใดควบคุมบล็อกเชนบิตคอยน์ได้

เงินบาทดิจิทัล คืออะไร?

ปัจจุบัน รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทยอยออกเงินสกุลดิจิทัลของตัวเอง เช่น จีน สวีเดน ฝรั่งเศส และในอนาคตประเทศไทยก็จะมีสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชน โดยจะเข้ามาเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินที่มีอยู่ ซึ่งเงินบาทดิจิทัล มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือ Digital Currency Electronic Payment (DCEP) ที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศไทย (ธปท.) โดยสกุลเงินดิจิทัล เรียกว่า บาทดิจิทัล และเนื่องจากเงินบาทดิจิทัลเป็นตัวเงินจริง แต่อยู่ในรูปของดิจิทัลที่ไม่สามารถจับต้องได้ (ไม่ได้อยู่ในรูปเงินสดหรือธนบัตรแบบเดิม) ดังนั้น จึงมีค่าเท่ากับธนบัตร เช่น เงินสด 100 บาท เท่ากับ 100 บาทดิจิทัล เป็นต้น

เงินดิจิทัลใช้อย่างไร?

เงินบาทดิจิทัลมีความแตกต่างจากเงินสดที่อยู่รูปธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ คือ ปกติเวลาจะใช้เงินสดต้องถอนเงินฝากมาเพื่อใช้จ่ายเงินผ่านมือ ซึ่งต่างจากเงินบาทดิจิทัลที่ไม่มีอะไรให้จับต้องได้แต่เป็นเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายและมีสินทรัพย์ภาครัฐหนุนหลังเหมือนเงินสด

ก่อนจะใช้งานได้จะต้องนำเงินฝาก/เงินสดมาแลกไปเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล เช่น ต้องการ 100 บาทดิจิทัล ก็ต้องนำเงินสดหรือนำเงินไปฝาก 100 บาท แล้วเก็บเอาไว้ในแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนที่ทางธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแล

เงินดิจิทัลแตกต่างจากเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร?

เงินบาทดิจิทัลแตกต่างจากเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) โดย e-money เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินภายใต้กฎหมายระบบการชำระเงิน ผู้ให้บริการจะออก e-money ให้แก่ผู้ใช้ที่เติมเงินไว้ล่วงหน้าเพื่อเอาไปจ่ายสินค้าและบริการในวงปิดเฉพาะเครือข่ายที่รับชำระ e-money นั้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปการ์ด เช่น บัตรรถไฟฟ้า บัตรเติมเงิน หรืออยู่ในเครือข่ายของผู้ให้บริการ ซึ่งมูลค่าของ e-money ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์จะเท่ากับมูลค่าเงินที่เติมไว้ ซึ่งต่างจาก เงินบาทดิจิทัลที่ออกใช้โดย ธปท. ใช้จ่ายชำระได้ในวงกว้าง ทำให้ใช้งานกันได้อย่างทั่วถึงมากกว่า

เงินบาทดิจิทัลแตกต่างจากเงินคริปโตเคอร์เรนซีอย่างไร?

เงินบาทดิจิทัลต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีที่สร้างขึ้นโดยภาคเอกชน ซึ่งมีมูลค่าผันผวนมากและยังไม่มีกฎหมายเงินตรารองรับ นอกจากนี้ยังแตกต่างจากคริปโตเคอร์เรนซีบางประเภทที่มีกลไกตรึงมูลค่ากับสกุลเงินหลักหรือสินทรัพย์อื่นให้ราคาผันผวนน้อยลง (Stablecoins) ซึ่งผู้ถือก็อาจไม่สามารถมั่นใจได้ว่า สินทรัพย์ที่ใช้ตรึงมูลค่า มีอยู่จริงหรือไม่และใครจะเป็นผู้รับรอง

ในภาวะที่ต้องรัดเข็มขัดกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ช่วยให้คุณจ่ายสบายด้วยเบี้ยเบา ๆ บรรเทาภาระในยามวิกฤต กับประกันรถยนต์ตามเวลา เลือกได้ตามใจ ให้ความคุ้มครอง 3, 6, 12 เดือน ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ทุกครั้งที่ออกเดินทาง สามารถแบ่งซื้อครั้งละ 3 หรือ 6 เดือนได้ ไม่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อน เมื่อครบกำหนด คลิกเลือกต่อประกันและชำระเงินออนไลน์ รับกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที ไม่ต้องกังวลว่า จะลืมต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย บริษัทฯ จะแจ้งเตือนการต่อประกันผ่าน SMS และโทรศัพท์จากพนักงาน ก่อนประกันหมดอายุ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/1020 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.