นอนมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
การนอนหลับเป็นกระบวนการซับซ้อนในการปรับร่างกายให้เป็นปกติ เป็นสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต การนอนมากไปหรือน้อยไปก็ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสภาวะอารมณ์ได้ ซึ่งร่างกายแต่ละคนต้องการการนอนหลับพักผ่อนมากน้อยไม่เท่ากัน จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการนอนที่เหมาะสม โทษของการนอนมากเกิน และการนอนน้อย มาดังนี้
สำหรับระยะเวลาในการนอนที่เหมาะสม สามารถอาจแบ่งได้ตามช่วงอายุ คือ
- ทารก ควรนอนหลับวันละ 16-18 ชั่วโมง
- เด็กเล็กก่อนวัยเรียน ควรนอนหลับวันละ 10-12 ชั่วโมง
- เด็กโตที่เข้าเรียนและวัยรุ่น ควรนอนหลับอย่างน้อย 9 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่ ควรนอนหลับ 7-9 ชั่วโมง
- สตรีมีครรภ์ที่อายุครรภ์อ่อน ควรนอนหลับมากกว่าที่เคยนอนปกติ
การนอนมากเกินไป (Hypersomnia) มีผลเสียต่อร่างกาย คือ
- สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา
- การทำงานของกระดูกกล้ามเนื้อและข้อลดประสิทธิภาพลง หากไม่ได้มีการเคลื่อนไหวนานๆ อาจมีผลทำให้กระดูกหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาข้อต่างๆ เคลื่อนไหวได้ยากตามมาได้
- น้ำหนักเกินมากกว่าเดิม เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันลดลง มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น อันอาจนำไปสู่โรคต่างๆ อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
- กลายเป็นคนซึมเศร้า การนอนมากทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะ “เคมีอารมณ์ สารความสุข” จำพวก “เซโรโทนิน (Serotonin)” และ “เอนดอร์ฟิน (Endorphin)” ลดต่ำลง
ส่วนการนอนน้อย มีผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน คือ
- กระทบต่อกระบวนการคิด และสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดลง
- หากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถผลิตสารเคมีที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ เสี่ยง-ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคหัวใจวาย โรคหัวใจและหลอด เลือด หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวาน
- เกิดอาการซึมเศร้า ผู้ที่นอนน้อยหรือมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับนอนหลับ เกิดอาการซึมเศร้าได้
- ผิวเสีย ผู้ที่ไม่ได้นอนติดต่อกัน 2-3 คืน มักมีผิวเหี่ยวและตาบวม เนื่องจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดออกมาย่อยสลายคอลลาเจนและโปรตีนที่ช่วยให้ผิวเรียบตึงหายไป
- ขี้ลืมง่ายหากนอนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลต่อความจำ
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ภาวะนอนน้อยอาจเกี่ยวข้องกับความหิว น้ำย่อยที่เพิ่มมากขึ้น และภาวะอ้วน โดยพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวจะมากขึ้น
- ส่งผลต่อการตัดสินใจ ส่งผลให้ตัดสินใจโต้ตอบได้ไม่ดี
- ภาวะนอนน้อยจะหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์ออกมาน้อย ส่งผลให้มีลูกได้ยาก
- เสี่ยงเกิดประสาทหลอน
- เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เนื่องจากผู้ที่อดนอนนอนน้อยจะง่วงซึม ตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นช้าลง ส่งผลให้ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บได้
เทคนิคเพื่อให้นอนหลับได้ดีมีประสิทธิภาพ
- พยายามตั้งเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่มเพื่อให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนดีๆ ต่างๆ ร่างกายมีการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดตารางเข้านอน และตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกๆ วัน ติดต่อกัน 28 วัน ร่างกายจะสร้างระบบนาฬิกาชีวิตของตัวเราเองขึ้นมาใหม่ จะตื่นได้เองอย่างสดชื่น
- จัดห้องนอนให้โปร่ง อากาศระบายได้ดี ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมองเซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา
- ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ
- งดอาหารขยะ น้ำอัดลม แป้งขัดขาว เบเกอรี่ ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดไม่ปกติ ร่างกายคุมไม่ได้ ทำให้ง่วง เหนื่อย ตอนที่ระดับน้ำตาลตก
- เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน แอลกอฮอล์ นิโคติ ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอน ไม่ควรเข้านอนทั้งที่ยังรู้สึกกังวลหรือเครียดเกี่ยวกับเรื่องบางอย่าง
- สำหรับผู้ที่นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับเป็นเวลานานจนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ควรปรึกษาแพทย์
การนอนอาจถือเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับหลายคน แต่การนอนถือเป็นกระบวนการหนึ่งของร่างกาย เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายปรับร่างกาย และฟื้นฟูให้เป็นปกติ สำคัญต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราควรนอนเพียงพอเหมาะสม ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกาย อารมณ์ สมอง ของเราดีขึ้นได้
สินมั่นคงประกันภัย มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้เลือก พร้อมค่าเบี้ยประกันที่ไม่แพง
คลิก www.smk.co.th หรือ โทร 1596
สินมั่นคงประกันสุขภาพ..เราประกัน คุณมั่นใจ..
Photo source: pexels.com
ไม่มีความคิดเห็น: