Ads Top

SMK Insurance

ประเภทรถบรรทุกมีอะไรบ้าง? ขับรถบรรทุกต้องใช้ใบขับขี่ประเภทใด?

หลายครั้งที่ต้องขับรถอยู่บนท้องถนนแล้วต้องพบเจอกับรถบรรทุกหลากหลายรูปแบบ และต้องคอยสังเกตรหัสสัญญาณไฟต่างๆ จากรถบรรทุก (รหัสสัญญาณไฟของรถบรรทุก https://www.smk.co.th/newsdetail/184) เพื่อระแวดระวังอุบัติเหตุและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากรถบรรทุกได้อีกด้วย แล้วรถบรรทุกตามกฎหมายของประเทศไทยมีแบบไหนบ้าง? สินมั่นคงประกันรถยนต์ มีข้อมูลมาฝากค่ะ 

กรมการขนส่งทางบก (https://www.dlt.go.th/) ได้ให้คำนิยามของรถบรรทุกไว้ว่า เป็นรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อค่าสินจ้างหรือเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองโดยจะต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 1600 กิโลกรัม ซึ่งได้กำหนดลักษณะการใช้รถในการขนสิ่งของหรือสัตว์ โดยแยกรถบรรทุกออกเป็นทั้งหมด 9 ประเภท ดังนี้

1. รถกระบะบรรทุก

มีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 (บ.2 , ท.2) เพื่อขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้ และรถยนต์

2. รถตู้บรรทุก

มีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 (บ.2 , ท.2) เพื่อขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้ และรถยนต์

3. รถบรรทุกของเหลว

เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 (บ.4, ท.4) เพื่อขับรถขนส่งวัตถุอันตราย

4. รถบรรทุกวัสดุอันตราย

เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 (บ.4, ท.4) เพื่อขับรถขนส่งวัตถุอันตราย

5. รถบรรทุกเฉพาะกิจ

เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 (บ.4, ท.4) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

6. รถพ่วง

เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 (บ.3 , ท.3) สามารถขับได้ทั้งรถสิบล้อพ่วงและรถหัวลาก

7. รถกึ่งพ่วง

เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 (บ.3 , ท.3) สามารถขับได้ทั้งรถสิบล้อพ่วงและรถหัวลาก

8. รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง

เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 (บ.3 , ท.3) สามารถขับได้ทั้งรถสิบล้อพ่วงและรถหัวลาก

9. รถลากจูง

เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 (บ.2 , ท.2) เพื่อขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้ และรถยนต์

รถบรรทุกติดเวลา คืออะไร?

เนื่องด้วยการจราจรที่แออัดในเขตกรุงเทพ กรมทางหลวงจึงต้องกำหนดเวลาห้ามรถบรรทุกวิ่ง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในช่วงเวลาเร่งรีบ ติดเวลา จึงหมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปวิ่งในเวลาดังกล่าว โดยจะแบ่งตามประเภทของรถบรรทุก ยิ่งคันใหญ่เวลาที่ติดก็จะมากตามไปด้วยตามขนาดของรถ

ปัจจุบันรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ติดเวลา ไม่สามารถวิ่งในเขตกรุงเทพได้ในเวลาดังนี้

  1. ถนนในกรุงเทพ
    • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 – 09:00 น. และเวลา 16:00 – 20:00 น. เว้นวันหยุดราชการ
    • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 -10:00 น. และ 15:00 – 21:00 น. เว้นวันหยุดราชการ
    • รถบรรทุกถังขนก๊าซ,วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง ห้ามเวลา 06:00 – 22:00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
    • รถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง,เสาเข็ม ห้ามเวลา 06:00 – 21:00 น.
  2. บนทางด่วน
    • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 – 09:00 น. และ 16:00 – 20:00 น.
    • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเวลา 06:00 – 09:00 น. และ 15:00 – 21:00 น.
    • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามเวลา 06:00 – 10:00 น. และ 15:00 – 22:00 น.
  3. รถบรรทุกที่ไม่ติดเวลาต้องมีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กก. หรือ 2.2 ตัน จึงจะสามารถวิ่งในเขตกรุงเทพฯได้โดยไม่ติดเวลา ซึ่งจะมีเพียงรถบรรทุก 4 ล้อเท้านั้นที่จะน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กก.

ถนน 16 สายที่รถบรรทุกวิ่งได้ไม่ติดเวลา

แม้ในเวลาปกติจะมีการกำหนดเวลาการใช้งานของรถบรรทุก แต่ก็มีถนนบางเส้น รถบรรทุกจะได้รับการยกเว้น ให้สามารถวิ่งได้ตลอดเวลา ได้แก่

  1. ถนนอาจณรงค์ ตั้งแต่ท่าเรือคลองเตย ถึงทางด่วนเฉลิมมหานคร
  2. ถนนเกษมราษฎร์ ตั้งแต่ท่าเรือคลองเตยถึงทางด่วนเฉลิมมหานคร
  3. ถนนสุวินทวงศ์ จากแยกถนนรามอินทราถึงสุดเขตกรุงเทพฯ
  4. ถนนร่มเกล้า ที่มาจากทางนิมิตรใหม่ ให้ไปกลับรถมาแล้วตรงมาที่แยกนิมิตรใหม่
  5. ถนนนิมิตรใหม่ ตั้งแต่ทางแยก ถนนสุวินทวงศ์ ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ
  6. ถนนอ่อนนุช ตั้งแต่แยกร่มเกล้าถึงทางแยกถนนอ่อนนุช -บางพลี
  7. ถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง)-บางพลี ทางแยก ถนนอ่อนนุช ถึงสุดเขต กทม.
  8. ถนนเจ้าคุณทหาร
  9. ถนนบางนา-ตราด ตั้งแต่แยก ถนนสุขุมวิท ถึงสุดเขต กรุงเทพฯ
  10. ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ทางแยกบางนา-ตราด ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ
  11. วงแหวนรอบนอก กาญจนาภิเษก ตลอดสาย
  12. ถนนพระราม 2 (ธนบุรีปากท่อ) ทางแยกสุขสวัสดิ์-สุดเขต กทม.
  13. ถนนสุขสวัสดิ์ ตั้งแต่แยกถนนพระราม 2 ถึงสุดเขต กทม.
  14. ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกวงแหวนรอบนอก กาญจนา ถึงสุดเขต กทม.
  15. ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ตั้งแต่แยก ถนนบรมราชชนนีถึงทางแยกถนนเพชรเกษม
  16. ถนนเพชรเกษมแยกทางแยกวงแหวนกาญจนาภิเษก ถึงสุดเขต กทม.


ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กรมธรรม์ที่กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องจัดทำประกันภัย เพื่อคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของเจ้าของรถสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บทางร่างกาย และ/หรือ เสียชีวิต สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/16 หรือ  โทร.1596 Line : @smkinsurance

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.